Blockchain คู่แข่งเบอร์ใหญ่ของระบบธนาคาร

Blockchain คู่แข่งเบอร์ใหญ่ของระบบธนาคาร Blockchain เป็นเป็นระบบเครือข่ายการเก็บข้อมูลแบบนึงที่เป็นแบบ Decentralized นั่นก็คือไม่มีตัวกลางในการควบคุมดูแล ทุกอย่างถูกบันทึกและยืนยันบนระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งต่างจากธนาคารที่ใช้ระบบ Centralized คือทุกอย่างต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบและมีคนกลาง เราก็จะไม่เห็นว่าตัวกลางนั้นทำอะไรกับทรัพย์สินของเราบ้าง บทความนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่าการใช้งาน Blockchain เนี่ยสามารถส่งผลกระทบต่อธนาคารและสถาบันการเงินในมุมใดบ้าง

Blockchain คืออะไร
การทำงานของเทคโนโลยี Blockchain เป็นรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลในระบบซึ่งแต่ละคนสามารถมองเห็นและแชร์ไปให้ทุกคนได้ และระบบเป็นรูปแบบกระจายอำนาจ แม้ว่าทุกคนจะสามารถเห็นธุรกรรมนั้นได้ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขมันได้นะ

ซึ่งด้วยความที่ Blockchain มีความโปร่งใส แทรกแซงยาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการเงิน เช่น การแลกเปลี่ยนเงินเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล การโอนเงิน การกู้ยืม การชำระเงินด้วยโทเคน เป็นต้น เนื่องจากการทำธุรกรรมเหล่านี้เป็นการตัดตัวกลางอย่างธนาคารออกไป จึงทำให้กระบวนการในการทำธุรกรรมรวดเร็วขึ้นและค่าธรรมเนียมถูกลงนั่นเอง

เทคโนโลยี Blockchain สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจการเงินได้อย่างไรบ้าง
Blockchian ถูกนำไปใช้ในหลายธุรกิจไม่ใช่แค่ธุรกิจการเงินเท่านั้น เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งธุรกิจการเงินเป็นธุรกิจแรก ๆ ที่นำ Blockchain มาใช้ โดยจะยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่นำ Blockchain มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน มีดังนี้

การระดมทุน
การระดมทุน Initial Coin Offerings (ICO) และ Initial Exchange Offerings (IEO) สำหรับการระดมทุนแบบ ICO เป็นวิธีการระดมเงินทุนของบริษัทหรือสตาร์ทอัพที่ต้องการนำไปลงทุนในโปรเจคใหม่ ๆ ซึ่งปราศจากธนาคารและสถาบันการเงิน โดยออกโทเคนมาขายให้คนที่สนใจและเชื่อว่าโปรเจคนี้จะประสบความสำเร็จ ส่วนการระดมทุนแบบ IEO มีลักษณะคล้ายกับ ICO แต่การระดมทุนรูปแบบนี้เป็นการระดมทุนโทเคนบนแพลตฟอร์มของ Exchange นั่นเอง

Smart Contract
การกู้ยืมเงินโดยใช้ Blockchain ประเภท Smart Contract บนระบบการบริการทางการเงินแบบไร้ตัวกลางหรือที่คนนิยมเรียกว่า Decentralized Finance (Defi) คือ การกู้ยืมเงินโดยไม่ผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร เป็นแบบ Peer to Peer ซึ่งใช้คริปโตเป็นหลักประกัน ผู้ที่ต้องการกู้จะนำคริปโตของตนเองมาวางไว้ เพื่อได้รับ Stable Coin กลับไป ผู้ให้ยืมก็จะให้ Stable Coin และผู้กู้ก็จะจ่ายดอกเบี้ยกลับไปตามที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เมื่อผู้กู้นำ Stable Coin มาคืนพร้อมดอกเบี้ย ก็จะได้รับคริปโตกลับคืน ซึ่งวิธีนี้เป็นทางเลือกใหม่เพื่อให้คนไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบ

การยืนยันตัวตน
การยืนยันตัวตนด้วย Blockchain เป็นการแปลงข้อมูลการยืนยันตัวตนของลูกค้า (KYC/AML) และประวัติการทำธุรกรรมให้เป็นแบบดิจิทัลบน Blockchain และอนุญาตให้มีการตรวจสอบเอกสารแบบเรียลไทม์ กระบวนการตรวจสอบและรายงานข้อมูลจะเป็นแบบอัตโนมัติ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกงและลดต้นทุนในการจัดการข้อมูลของสถาบันการเงิน

จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นการใช้ Blockchain เข้ามาช่วย ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและโปร่งใส ซึ่งเราจะไม่สามารถเห็นได้จากธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินในปัจจุบัน ในอนาคตจะมีธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายกับธนาคารและสถาบันการเงินมากขึ้นและจะเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ

ตัวอย่างการโอนเงินผ่าน Blockchain
การโอนเงินเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและใกล้ตัวเพราะในปัจจุบันการโอนเงินระหว่างประเทศในแต่ละครั้งจะมีค่าธรรมเนียมในการโอนประมาณ 7% ถ้าหากโอนผ่านตัวกลางอย่างธนาคารหรือบริษัทตัวแทนจะมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูงและยังต้องใช้ระยะเวลาในการโอนหลายวันหรือเป็นสัปดาห์

ดังนั้นเทคโนโลยี Blockchain จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศ เพราะสามารถลดระยะเวลาในการโอนและมีค่าธรรมเนียมต่ำ ซึ่งยกตัวอย่างการโอนเหรียญ Stable coin อย่าง Tetether (USDT) ด้วย Blockchain ซึ่ง Tether มี Chain หลายประเภทที่ใช้ในการโอนเหรียญ เช่น ERC-20, Alogrand, Omni, Solana, Tezos, Tron, Binance Smart Chain และ OmiseGo (OMG) เป็นต้น ซึ่งจะยกตัวอย่าง 3 Chain ที่ผู้ใช้งานนิยมใช้คือ Ethereum, Tron และ Binance Smart Chain มีดังนี้

ERC-20 เป็น Chain ของ Ethereum Blockchain ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการโอนเหรียญเกือบทุกชนิด เนื่องจาก Token ส่วนมากถูกสร้างบน Ethereum Blockchain มาตรฐาน ERC-20 การทำธุรกรรมหรือโอนเหรียญบน ERC-20 จะรวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมต่ำ แต่ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานบน Ethereum Blockchain ค่อนข้างเยอะ ทำให้มีความล่าช้าในการทำธุรกรรมและค่า Gas ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ใช้งานเริ่มไปใช้งานบน Blockchain อื่น แต่อย่างไรก็ตาม ERC-20 ยังได้รับความนิยมอยู่ดี

Tron Blockchain เป็นหนึ่งใน Blockchain ที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุด กระบวนการทำงานมีความยืดหยุ่น รองรับธุรกรรมได้เยอะมาก ค่าธรรมเนียมต่ำ มีประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงและยังรองรับการสร้างระบบ Smart Contract ได้อีกด้วย

Binance Smart Chain เป็น Blockchain ของ Binance Exchange เป็น Blockchain ที่ถูก Fork ออกมาจาก Ethereum ซึ่งสามารถรองรับธุรกรรมได้มากกว่าและค่าธรรมเนียมถูกกว่า Ethereum และยังถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับโปรโตคอลที่เคยพัฒนาบนเครือข่าย Ethereum จึงทำให้ง่ายต่อการพัฒนาโปรโตคอลใหม่บน Binance Smart Chain